วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

อนุทินที่5 ลูกประคบสมุนไพร

     ลูกประคบสมุนไพร(Herbal Compress)  เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำสมุนไพรหลายชนิดมาผ่านกระบวนการทำความสะอาด แล้วนำมาหั่นหรือสับให้เป็นชิ้นตามขนาดที่ต้องการตำพอแตก ใช้สดหรือทำให้แห้ง นำมาห่อหรือบรรจุรวมกันในผ้าให้ได้รูปทรงต่างๆ เช่น ทรงกลม หมอนสำหรับใช้นาบ หรือกดประคบส่วนต่างๆของร่างกาย เพื่อทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายถ้าเป็นลูกประคบสมุนไพรแห้ง ก่อนใช้ต้องนำมาพรมน้ำ แล้วทำให้รอนโดยนึ่ง ลักษณะทัวไปของลูกประคบสมุนไพร คือ ลูกประคบสมุนไพรต้องห่อผ้าปิดสนิทรูปทรงต่างๆ ภายในบรรจุสมุนไพรสด หรือแห้งหลายชนิดรวมกัน กรณีทำเป็นรูปทรงกลมปลายผ้าต้องรวมแล้วมัดให้แน่นทำป็นด้ามจับ ต้องมีกลิ่นหอมของน้ำมันหอมระหยของสมุนไพรที่ใช้


    โดยมีองค์ประกอบของสมุนไพรที่สำคัญดังนี้


1.ไพล(500 กรัม) แก้ปวดเมื่อย เคล็ด ขัดยอก ลดการอักเสบ
2.ขมิ้นชัน(100 กรัม) ช่วยลดอาการอักเสบ แก้โรคผิวหนัง
3.ตะไคร้บ้าน(100 กรัม) แต่งกลิ่น
4.ผิวมะกรูด(200 กรัม) ถ้าไม่มีใช้ใบแทนได้มีน้ำมันหอมระเหย แก้ลมวิงเวียน
5.ใบมะขาม(300 กรัม) แก้อาการคันตามร่างกายช่วยบำรุงผิว
6.ใบส้มป่อย(100 กรัม) ช่วยบำรุงผิวแก้โรคผิวหนังลดความดัน
7.เกลือ(1 ช้อนโต๊ะ) ช่วยดูดความร้อนและช่วยพาตัวยาซึมผ่านผิวหนังได้สะดวก
8.การบูร(2 ช้อนโต๊ะ) แต่งกลิ่นบำรุงหัวใจ


    อุปกรณ์การทำลูกประคบสมุนไพรที่สำคัญมีดังนี้


1.ผ้าดิบ
2.ไพล
3.ขมิ้นชัน
4.ตะไคร้บ้าน
5.ใบมะขาม
6.ใบส้มป่อย
7.เกลือ
8.การบูร


     วิธีทำลูกประคบสมุนไพร


1.นำหัวไพล ขมิ้นชัน ตะไคร้ มะกรูด ลางทำความสะอาด นำมาหั่นหรือสับให้เป็นชิ้นตามขนาดที่ต้องการตำพอหยาบๆ
2.นำใบมะขาม ใบส้มป่อย ผสมกับสมุนไพรในข้อ1 เสร็จแล้วใส่เกลือ การบูร คลุกเคล้าให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันแต่อย่าให้แฉะเป็นน้ำ
3.แบ่งสมุนไพรที่คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วเป็นส่วนเท่าๆกัน โดยใช้ผ้าดิบห่อเป็นลูกประคบมัดด้วยเชือกให้แน่น
4.นำลูกประคบที่ได้ไปนึ่ง ใช้เวลานึ่งประมาณ 15-20 นาที
     ประโยชนของการประคบด้วยลูกประคบสมุนไพรที่สำคัญดังนี้
1.กระตุ้นหรือเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต
2.ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อและบรรเทาอาการปวดเมื่อย
3.ลดการติดขัดของข้อต่อบริเวณที่ประคบและทำให้เนื้อเยื่อพังฝืดยืดตัวออก
4.ลดอาการบวมที่เกิดจากการอักเสบกล้ามเนื้อหรือบริเวณข้อต่อต่างๆหลังจาก 24-28 ชั่วโมงไปแล้ว






ลูกประคบสมุนไพรไทย

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

อนุทินที่4 ถุงหอมสมุนไพร

ถุงหอมสมุนไพรไทย  คือภาชนะที่ประดิษฐ์มาจากกระดาษสา  กระดาษเยื่อไผ่  กล่องกระดาษ  บรรจุสมุนไพรหลากหลายชนิด  ได้แก่  พิมเสน  การบูร  ดอกพิกุลแห้ง  กานพูล  ผิวมะกรูด  ขมิ้นผง  เพื่อขจัดกลิ่นเหม็น  และป้องกันแมลง  การทำถุงหอมถือเป็นการประยุกต์นำเอาสมุนไพรมาใช้ประโยชน์โดยใช้กลิ่นจากสมุนไพร  ซึ่งคนโบราณรจักการใช้กลิ่นหอมต่างๆมาบำบัดรักษาแถมยังทำให้สุขภาพดีขึ้นโดยมีประโยชน์ คือ ใช้ดับกลิ่น ให้กลิ่นหอม ระหยัดค่าใช้จ่าย และประดับตกแต่งบริเวณในบ้าน เป็นต้น
แนะนำวิธีการทำผงหอมสมุนไพรไทย
      วัสดุ-อุปกรณ์
1.กระดาษสา
2.เข็ม ด้าย กาว
3.สมุนไพร เช่น พิมเสน การบูร  ดอกพิกุลแห้ง กานพูล ผิวมะกรูด ขมิ้นผง เป็นต้น
     วิธีการทำถุงหอมสมุนไพรไทย
1.ตัดกระดาษสาให้เป็นถุงเล็กขนาดประมาณ 8 ซม.X12 ซม.
2.เย็บถุงให้เรียบร้อย
3.ตรวจสอบว่าถุงบางไปหรือไม่
4.นำสมุนไพรดังกล่าวใส่ไว้ในถุง
5.เมื่อใส่ครบแล้วเย็บปากถุงให้เรียบร้อย
6.ตรวจสอบสภาพถุงก่อนนำไปใช้
7.นำไปใช้ได้ตามอัธยาศัย


รูปถุงหอมสมุนไพร

ถุงหอมสมุนไพร








วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

อนุทินที่3 ความรู้สึกของกลุ่ม

          ในกลุ่มของกระผมมีความรู้สึกว่าได้รู้จักการทำ web blog และการใช้โปรแกรม Photoshop ในการตกแต่งภาพและรู้สึกดีใจที่ได้เรียนรู้ในเรื่องที่ไม่เคยรู้มาก่อน ซึ่งความรู้ที่ได้สามารถนำมาใช้ในการศึกษา และสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้


          ซึ่งกลุ่มของกระผมขอขอบพระคุณ ดร.จิต นวนแก้ว และ อาจารย์ อภิชาติ วัชรพันธุ์



   
ดร. จิต นวนแก้ว                                            อ. อภิชาติ วัชรพันธุ์

อนุทินที่2 Walkrally สมุนไพร

       สมุนไพร คือ ยาที่ได้จากส่วนของ พืช สัตว์ และแร่ธาตุ ที่ยังไม่ได้มีการผสม ปรุง หรือแปรสภาพ สามารถนำมาสกัดสารที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ สมุนไพรจากพืช สมุนไพรจากสัตว์ และสมุนไพรจากแร่ธาตุ มีหลักการทั่วไปในการเก็บส่วนที่ใช้เป็นยาสมุนไพรดังนี้
            1.เก็บรากหรือหัว
    สมควรเก็บในช่วงเวลาที่พืชหยุดการเจริญเติบโต ใบ ดอกร่วงหมดแล้วหรือในช่วงต้นฤดูหนาวถึงปลายฤดูร้อน เพราะเหตุว่าในช่วงเวลานี้ รากและหัวมีการสะสมปริมาณตัวยาเอาไว้ค่อนข้างสูงวิธีการเก็บก็จะต้องใช้วิธีขุดด้วยความระมัดระวังให้มาก อย่าให้รากหรือหัวเกิดการเสียหายแตกช้ำ หักขาดขึ้นได้รากหรือหัวของพืชสมุนไพรก็มี ข่า กรชาย กระทือ ขิง เป็นต้น

           2.ประเภทใบหรือเก็บทั้งต้น
    ควรจะเก็บใบที่เจริญเติบโตมากที่สุดหรือพืชบางอย่างอาจระบุช่วงเวลาเก็บอย่างชัดเจน เก็บใบอ่อนหรือไม่แก่เกินไป เก็บช่วงดอกหรือบานหรือช่วงเวลาที่ดอกบานเป็นต้น การกำหนดช่วงเวลาที่เก็บใบเพราะช่วงเวลานั้น ในใบมีตัวยามากที่สุดวิธีการเก็บก็ใช้วิธีเด็ด ตัวอย่างเช่น ใบกระเพรา ใบฝรั่ง ใบฟ้าทะลาย เป็นต้น

           3.ประเภทเปลือกต้นหรือเปลือกราก
    เปลือกต้นโดยมากเก็บช่วงฤดูร้อนต่อกับช่วงฤดูฝนประมาณยาในพืชสมุนไพรมีสูงและลอกออกได้ง่ายสะดวกในการลอก เปลือกต้นนั้นอย่าลอกเปลือกออกทั้งรอบต้นเพราจะกระทบกระเทือนในการส่งลำเลียงอาหารของพืชจะทำให้ตายได้ทางที่ดีควร ลอกเปลือกกิ่งหรือส่วนที่ เป็นแขน่งย่อยไม่ควรลอกออกจากล้าต้นใหญ่ของต้นไม้หรือจะใช้วิธีลอกออกในลักษณะครึ่งวงกลมก็ได้ ส่วนเปลือกรากเก็บในช่วงฤดูฝน เหมาะมากที่สุด เนื่องจากการลอกเปลือกรากเป็นผลเสียต่อการเจริญเติบโต ของพืชควรสนใจ วิธีการเก็บที่เหมาะสมจะดีกว่า
         
           4.ประเภทดอก
    โดยทั่วไปเก็บในช่วงดอกเริ่มบาน แต่บางชนิดเก็บในช่วงดอกตูม เช่น กานพลู เป็นต้น 



          5.ประเภทผลและเมล็ด
     พืชสมุนไพรบางอย่างอาจจะเก็บในช่วงที่ผลยังไม่สมบูรณ์หรือยังไม่สุกก็มี เช่น ฝรั่งเก็บเอาผลอ่อนมาเป็นยาแก้ท้องร่วง แต่โดยทั่วไปมักเก็บเมื่อผลแก่เต็มที่แล้ว ตัวอย่างเช่น มะแว้ต้น มะแว้งเครือ ดีปลี เมล็ดฟักทอง เมล็ดชมเห็ดไทย เมล็ดสะแก เป็นต้น



ภาพสมุนไพร



การประยุกต์สมุนไพร
1.นำมาทำเป็นหมอนสมุนไพร
2.นำสมุนไพรมาทำเป็นลูกประคบสมุนไพร
3.นำมาทำเป็นยาหอมสมุนไพร
4.ยาทาแผล
5.นำมาทำเป็นถุงหอมสมุนไพร

ประโยชน์ของสมุนไพร
1.ใช้สมานแผล
2.ช่วยขับพิษออกจากร่างกาย
3.ใช้ทำยารักษาโรค
4.ใช้สกัดน้ำมันหอมระเหย

โทษของสมุนไพร

 ตัวอย่าง กระท่อม
 โทษของกระท่อม
         กระท่อมออกฤทธิ์ประเภทกระตุ้นประสาท การเสพใบกระท่อมมากๆ หรือเป็นระยะเวลานาน มักจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเม็ดสีขึ้นที่บริเวณผิวหนัง ทำให้ผู้ที่รับประทานมีผิวคล้ำและเข้มขึ้น และยังพบอีกว่าเสพกระท่อมโดยไม่ได้รูดเอาก้านใบออกจากตัวใบก่อน อาจจะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า "ถุงท่อม" ในลำไส้ได้ เนื่องจากก้านใบและใบของกระท่อมไม่สามารถย่อยได้ จึงตกตะกอนติดค้างอยู่ภายในลำไส้ ทำให้ขับถ่ายออกมาไม่ได้ เกิดพังผืดขึ้นมาหุ้มรัดอยู่โดยรอบก้อนกากกระท่อมนั้น ทำให้เกิดเป็นก้อนถุงขึ้นมาในลำไส้ บางรายจะมีอาการโรคจิตหวาดระแวง เห็นภาพหลอน คิดว่าคนจะมาทำร้ายตน และพูดไม่ค่อยรู้เรื่อง


รูปภาพ ใบกระท่อม











อนุทินที่1 แนะนำตัวเองของกลุ่ม


1)ด.ช. คริษฐ์ ศรีรัตนอุดม
2)ด.ช. ณฤดล ไชยฤทธิ์
3)ด.ญ. ชลภัทร สินศักดิ์ศรี
4)ด.ญ. เพชรา มณีสม
5)ด.ญ. สุมิตรา หอมหวล


                                                  
  สมาชิกในกลุ่ม